หลายบ้านแทบจะเป็นลมเมื่อได้เห็นบิลค่าไฟบ้านในแต่ละเดือนที่แพงขึ้นกว่าเมื่อก่อน ทั้งที่ยังคงใช้ไฟฟ้าเท่าเดิม ซึ่งอาจมีแนวโน้มว่าจะต้องใช้เงินเพิ่มมากขึ้นในอนาคต ด้วยเหตุนี้ หลายคนจึงหันมาติดตั้ง Solar rooftop มากขึ้น เนื่องจากสามารถช่วยประหยัดค่าไฟได้ และยังช่วยประหยัดพลังงานในการผลิตไฟฟ้าอีกด้วย แต่ก่อนจะเริ่มลงมือติดตั้ง Excellent Solar มี 8 เรื่องควรรู้ก่อนตัดสินใจติดตั้งโซล่าเซลล์บ้านมาให้ศึกษากัน เพื่อเป็นแนวทางดี ๆ ในการติดโซล่าเซลล์บ้านให้คุ้มทุนที่สุด

1. ความพร้อมของบ้านที่จะติดตั้งโซล่าเซลล์

ติดแผงโซล่าเซลล์บนหลังคาบ้านราคา, รับติดตั้งโซล่าเซลล์

• สำรวจการใช้ไฟบ้านในแต่ละเดือนว่ามีการใช้ไฟฟ้าในตอนกลางวัน - กลางคืน เท่าไหร่ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการเลือกติดโซล่าเซลล์ที่เหมาะสมที่สุด
• ตรวจสอบรูปทรงหลังคาเพื่อเป็นแนวทางในการติดตั้งโซล่าเซลล์ รวมทั้งวัสดุที่ใช้ปูหลังคา หากวัสดุนั้นไม่แข็งแรงพอ หรือมีรอยแตก รอยรั่ว ควรทำการรีโนเวทใหม่ เพื่อให้สามารถรองรับน้ำหนักของโซล่าเซลล์ได้
• จุดที่จะติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ควรอยู่ทิศใต้ของบ้าน เพราะเป็นทิศที่จะได้รับแสงแดดยาวนานที่สุด

2. พฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าในบ้านก่อนติดตั้งโซล่าเซลล์

• บ้านที่มีการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าหลายอย่างในช่วงกลางวัน เช่น บ้านที่มีสมาชิกอาศัยอยู่ตลอดทั้งวัน บ้านที่มีผู้ป่วยติดเตียง บ้านที่มีการทำงานแบบ Work From Home ร้านค้า ออฟฟิศ เป็นต้น
• บ้านที่มีค่าไฟ 2,000 - 3,000 บาทขึ้นไป ซึ่งมีอัตราการใช้ไฟฟ้าที่คุ้มค่าพอสำหรับกำลังการผลิตไฟฟ้าขั้นต่ำของโซล่าเซลล์ (เช่น 1.8 - 3 กิโลวัตต์) ซึ่งจะสามารถประหยัดค่าไฟได้ 900 - 1,000 บาท

3. ประเภทของโซล่าเซลล์

ติดแผงโซล่าเซลล์บนหลังคาบ้านราคา, รับติดตั้งโซล่าเซลล์

ต้องแนะนำก่อนว่า การผลิตไฟฟ้าด้วยโซล่าเซลล์ในบ้าน ส่วนใหญ่จะติดตั้งระบบแบบ On-Grid มากที่สุด เนื่องจากราคาเข้าถึงง่าย และสามารถขายไฟคืนให้ภาครัฐได้หากมีไฟเกิน ต่อไปนี้จะพามาทำความรู้จักกับ 3 รูปแบบของแผงโซล่าเซลล์ที่นิยมใช้ในประเทศไทย ได้แก่
• แผงโมโนคริสตัลไลน์ เซลล์จะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมมุมตัดสีเข้ม มีคุณภาพสูง ผลิตไฟฟ้าได้แม้มีแดดน้อย
• แผงโพลีคริสตัลไลน์ เซลล์จะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมสีน้ำเงิน ไม่มีการตัดมุม ผลิตไฟฟ้าในที่ที่มีอุณหภูมิสูงได้ดีกว่าเล็กน้อย
• แผงโซล่าเซลล์แบบฟิล์มบาง สีแผงจะเป็นสีดำ และมีความบาง โค้งงอได้ ทนต่ออากาศร้อนได้ดี

4. ประเภทของอินเวอร์เตอร์ที่จะติดตั้งร่วมกับโซล่าเซลล์

อินเวอร์เตอร์ ถือเป็นหัวใจสำคัญของการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ เพราะเป็นอุปกรณ์แปลงพลังงานไฟฟ้ากระแสตรงจากโซล่าเซลล์ให้เป็นกระแสสลับ พร้อมกับส่งไฟฟ้าไปยังเบรกเกอร์ ก่อนจะจ่ายไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ในบ้าน อินเวอร์เตอร์ที่นิยมใช้จะมี 2 ประเภท
• สตริงอินเวอร์เตอร์ จะเป็นเครื่องขนาดใหญ่ตัวเดียวที่เชื่อมต่อรวมกับระบบโซล่าเซลล์ทุกแผง ทำให้ดูแลควบคุมได้ง่ายแค่จุดเดียว
• ไมโครอินเวอร์เตอร์ จะเป็นเครื่องที่ติดตั้งแยกย่อยกับโซล่าเซลล์แต่ละแผง ทำให้เมื่อระบบของแผงใดแผงหนึ่งขัดข้อง แผงอื่น ๆ ยังสามารถทำงานได้ตามปกติ

5. การเลือกผู้ให้บริการติดตั้งโซล่าเซลล์

เนื่องจากการติดตั้งโซล่าเซลล์บ้าน เป็นการลงทุนในระยะยาวที่จะส่งผลต่อการใช้ไฟฟ้าที่คุ้มค่าในอนาคต เพราะฉะนั้น ควรเลือกผู้ให้บริการที่มีประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ และมีความน่าเชื่อถือ โดยสามารถพิจารณาได้จากรีวิวการติดโซล่าเซลล์ บ้านของลูกค้าที่เคยใช้บริการ นอกจากนี้ ผู้ให้บริการอาจมีหลายบริษัท ซึ่งมีราคาที่แตกต่างกัน ขอแนะนำให้เลือกมา 2-3 บริษัทก่อนจะนำไปเปรียบเทียบราคา ข้อดี ข้อเสีย และบริการอื่น ๆ ประกอบการตัดสินใจ

อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่มองข้ามไม่ได้ ก็คือการรับประกันสินค้า โดยจะมีการรับประกันสินค้า 10 ปี และการรับประกันสิทธิภาพของแผงโซล่าเซลล์ 25 ปี หรือการรับประกันอาจจะแตกต่างกัน แล้วแต่ผู้ผลิตแต่ละเจ้า ดังนั้น ควรเลือกผู้ผลิตโซล่าเซลล์ที่มีใบรับประกันรับรองชัดเจน เพื่อที่เวลาแผงโซล่าเซลล์มีปัญหา สามารถนำไปเคลมได้ทันที

6. งบประมาณและการคืนทุนเมื่อติดตั้งโซล่าเซลล์

• บ้านที่จะติดตั้งโซล่าเซลล์ขนาด 2-3 กิโลวัตต์ ค่าใช้จ่ายจะอยู่ที่ประมาณ 170,000 - 200,000 บาท
• บ้านที่จะติดตั้งโซล่าเซลล์ขนาด 5 กิโลวัตต์ ค่าใช้จ่ายจะอยู่ที่ประมาณ 200,000 - 300,000 บาท

อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายในการติดโซล่าเซลล์ ราคาจะมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับแพ็กเกจ และ ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ของแต่ละบริษัท ส่วนการคืนทุนจะใช้เวลาประมาณ 4-10 ปี หลังจากที่คืนทุนแล้ว ก็จะได้ใช้ไฟฟ้าในช่วงกลางวันฟรี จึงช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าได้มากในระยะยาว

7. การขออนุญาตติดโซล่าเซลล์

ติดแผงโซล่าเซลล์บนหลังคาบ้านราคา, รับติดตั้งโซล่าเซลล์

สำหรับการติดโซล่าเซลล์บ้านด้วยระบบ On-Grid ที่ต้องต่อขนานกับระบบจำหน่ายไฟฟ้าของภาครัฐ จะต้องมีการขออนุญาตกับภาครัฐก่อน ซึ่งใช้ระยะเวลาดำเนินการ 1-2 เดือน โดยจะต้องไปดำเนินการกับภาครัฐ 3 หน่วยงาน ดังนี้
1. ราชการส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาล อบต. และสำนักงานเขต เพื่อขออนุญาตดัดแปลงอาคารเพื่อติดโซล่าเซลล์
2. คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เพื่อขอรับใบยกเว้นการประกอบกิจการพลังงานไฟฟ้า
3. การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) หรือ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เพื่อขออนุญาตเชื่อมต่อกับระบบจำหน่ายไฟฟ้า

การดำเนินเรื่องขออนุญาตอาจเป็นเรื่องยากสำหรับคนทั่วไป ขอแนะนำให้ใช้บริการกับบริษัทติดตั้งโซล่าเซลล์ที่มีประสบการณ์ เพื่อเป็นตัวแทนในการดำเนินการขออนุญาตตามกระบวนการต่อไป

8. การดูแลโซล่าเซลล์

การดูแลโซล่าเซลล์ให้ใช้งานได้ยาวนาน ถือเป็นเรื่องที่ละเลยไม่ได้ เพราะหากโซล่าเซลล์ไม่ได้รับดูแลเป็นเวลานาน อาจมีผลต่อประสิทธิภาพในการรับแสงอาทิตย์เพื่อผลิตไฟฟ้าภายในบ้านที่น้อยลง และระยะเวลาในการคืนทุนก็จะช้าตามไปด้วย มีแนวทางในการดูแลและตรวจสอบ ดังนี้
• ตรวจสอบสภาพของโซล่าเซลล์อยู่เสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีรอยแตก รอยร้าว หรือสีแผงโซล่าเซลล์เปลี่ยนไปจากเดิม
• ทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ เพื่อขจัดฝุ่นและสิ่งสกปรกออก 4-5 ครั้งต่อปี
• ตรวจสอบสภาพอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เชื่อมต่อกับโซล่าเซลล์ เช่น อินเวอร์เตอร์ สายไฟ ฯลฯ
• หากตรวจสอบแล้วพบว่ามีการชำรุดหรือมีความผิดปกติเกิดขึ้น ควรบำรุงซ่อมแซมระบบโซล่าเซลล์ขึ้นทันที
• ใช้บริการตรวจสอบและทำความสะอาดกับบริษัทติดตั้งโซล่าเซลล์ที่มีความเชี่ยวชาญ

หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์และช่วยให้หลายคนตัดสินใจได้ง่ายขึ้น หากต้องการคำแนะนำและปรึกษาข้อมูลเรื่องโซล่าเซลล์ก่อนการติดตั้งจริง ติดต่อ Excellent Solar มาได้เลย เพราะเราเป็นผู้ให้บริการที่มีความเชี่ยวชาญด้านโซล่าเซลล์ พร้อมให้คำปรึกษาและแนะนำข้อมูลที่มีประโยชน์ได้อย่างตรงจุดและตอบโจทย์ที่สุด

Reference:
AP Thailand
บ้านและสวน

บทความน่าสนใจ

บริการหลังการขาย

Performance

Preventive Maintenance

DC-AC Check

Inverter-Monitoring

Solar Cleaning

บริการของเรา

ออกแบบและให้คำปรึกษา

การวางแผนติดตั้ง

ประสานงานทางกฎหมายและภาครัฐ

ดูแลหลังการขาย

เกี่ยวกับเรา

บริการออกแบบ ติดตั้ง ระบบผลิตไฟฟ้า จากพลังงานแสงอาทิตย์

จำหน่าย EV Charger

ติดตั้งและออกแบบด้วยวิศวกรไฟฟ้า

ทีมงานคุณภาพมากประสบการณ์

พร้อมบริการหลังการขาย

© All rights reserved.

ขอใบเสนอราคา

เราจะติดต่อกลับในเวลาทำการ

Close Modal