• ใช้งานตอนกลางคืนไม่ได้ เนื่องจากโซลาร์เซลล์ผลิตไฟได้ตอนกลางวันเท่านั้น ตอนกลางคืนจะเป็นการดึงไฟจากการไฟฟ้ามาใช้
• ใช้งานไม่ได้เนื่องจากระบบที่ติดตั้งเป็นระบบที่มีการเชื่อมต่อกับระบบของการไฟฟ้า (On-Grid) ดังนั้น เมื่อไฟฟ้าดับเครื่องแปลงไฟ (Inverter) จะหยุดทำงานโดยอัตโนมัติ ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าในกรณีที่มีการซ่อมระบบ เนื่องจากหากระบบไม่หยุดทำงาน ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบ solar cellอาจจะย้อนเข้าระบบสายส่งและทำให้เกิดอันตรายต่อเจ้าหน้าที่ที่กำลังปฏิบัติงานแก้ไขระบบไฟฟ้าได้
• สามารถใช้ไฟจากการไฟฟ้าได้ตามปกติ กรณีระบบโซลาร์เซลล์มีปัญหา ลูกค้าสามารถปิดระบบโซลาร์เซลล์ เพื่อใช้ไฟจากการไฟฟ้าแหล่งเดียวได้เลยส่วนถ้าแสงแดดไม่เพียงพอ ลูกค้าไม่จำเป็นต้องปิดระบบโซลาร์เซลล์ เนื่องจากไฟจากการไฟฟ้าจะไหลไปที่อาคารของท่านได้อย่างอัตโนมัติ
• โดยทั่วไปเมื่อโซลาร์เซลล์ได้รับแสงอาทิตย์ จะผลิตกระแสไฟฟ้าออกมาซึ่งกระแสไฟจะไหลไปที่บ้าน/อาคาร/โรงงานของลูกค้าก่อน เนื่องจากอยู่ใกล้กับโหลดของลูกค้ามากกว่า เมื่อไฟฟ้าไม่เพียงพอกับการใช้งานจึงจะดึงไฟฟ้ามาจากการไฟฟ้าลูกค้าสามารถทราบกำลังไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์แบบเรียลไทม์ (real time) ได้จากแอปพลิเคชันของทางบริษัทฯ
• ถ้าไม่มีการทำงานเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า ไม่มีอันตราย ดังนั้น หากไม่ได้ใช้ไฟฟ้า ไม่จำเป็นต้องปิดระบบโซลาร์เซลล์ ยกเว้นในกรณีที่ต้องการซ่อมแซมระบบไฟฟ้าที่อาคารของลูกค้า ควรปิดระบบโซลาร์เซลล์ เพื่อความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน
• การติดตั้งสามารถทำได้โดยง่าย และไม่มีปัญหากับโครงสร้างหลังคา เพราะ น้ำหนักของแผงโซล่าร์เซลล์ มีน้ำหนักเพียง 22 กิโลกรัม ต่อตารางเมตร ซึ่งโครงสร้างหลังคาโดยทั่วไปสามารถรับได้ ทั้งนี้เพื่อให้การติดตั้งเป็นไปตามมาตรฐาน เราจะมีทีมงานตรวจสอบโครงสร้างและมีวิศวกรเซ็นต์แบบเพื่อความมั่นใจในการใช้งานการเดินสายไฟ เราเลือกใช้สายไฟที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมกลางแจ้งซึ่งหมายถึง แดดและฝนรวมไปถึงการเชื่อมต่อสายไฟฟ้าเป็นไปตามมาตรฐานทำให้ปลอดภัยต่อไฟฟ้าที่จะรั่วไหลโดยมีวิศวกรควบคุมการติดตั้งเพื่อเป็นมาตรฐานในการทำงานอีกด้วยการติดตั้งแผงกับประเภทของหลังคา เราได้เลือกอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับการติดตั้งในแต่ละรูปแบบของหลังคา เช่น เมทัลชีท กระเบื้องลอนคู่ทำให้เกิดความรวดเร็วในการติดตั้งและยังปลอดภัยต่อการรั่วซึมของฝน โดยไม่สร้างความเสียหายต่อหลังคาเดิมรูปแบบในการติดตั้งมีมาตรฐาน เช่น มีทางเดินเพื่อเข้าไปดูแล ตรวจสอบได้โดยง่ายมีอุปกรณ์ตรวจเทียบสภาพอากาศและการผลิตไฟ เพื่อใช้ในการเทียบผลการผลิตไฟอีกด้วย
(ควรเปิดตู้ควบคุมไฟฟ้าอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งเพื่อตรวจสอบสภาพของสายไฟฟ้า เบรกเกอร์และอุปกรณ์ป้องกันแรงดันกรรโชก พร้อมทั้งตรวจสอบว่ามีหนูหรือแมลงเข้ามาอาศัยหรือไม่)
• โดยปกติแล้วน้ำฝนที่ตกลงมาและความลาดเอียงของการติดตั้งจะทำให้ฝุ่นละอองต่างๆ ได้รับการชะล้างโดยธรรมชาติอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามหากต้องการที่จะทำความสะอาดแผงเองก็สามารถทำได้ โดยเพียงฉีดน้ำขึ้นเป็นละอองคล้ายฝนตก ฉีดน้ำเฉพาะบริเวณที่เป็นกระจกนิรภัย หลีกเลี่ยงการฉีดน้ำเข้าบริเวณใต้แผงโซลาร์เซลล์ และควรล้างในช่วงที่ไม่มีแดด
อย่างไรก็ตามตลอดอายุสัญญาโครงการ ทางบริษัทจะส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบและบำรุงรักษาอุปกรณ์ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
• การที่มีสิ่งสกปรกตกค้างบนแผงโซลาร์เซลล์ ไม่ว่าจะเป็น ฝุ่น มูลนก ใบไม้ หรือละอองของเขม่า เป็นต้น สิ่งสกปรกเหล่านี้จะบดบังแสงที่มาตกกระทบบนผิวหน้าของแผงโซลาร์เซลล์ ทำให้ผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ลดลง ดังนั้น ถ้าพบว่ามีสิ่งสกปรกตกค้างอยู่บนแผงโซลาร์เซลล์ ให้ใช้น้ำสะอาดล้างทำความสะอาด ห้ามใช้น้ำยาอื่นๆ ล้าง หรือใช้กระดาษทรายขัดผิวหน้าของแผงโซลาร์เซลล์เด็ดขาด ซึ่งการทำความสะอาดเช่นนี้ควรทำเป็นระยะๆ หรือเมื่อสังเกตเห็นว่ามีสิ่งสกปรกตกค้างบนแผงโซลาร์เซลล์ แต่มีข้อควรระวัง คือ ควรล้างในช่วงที่ไม่มีแดด และไม่ควรฉีดน้ำเข้าใต้แผง
• สิ่งที่ลดความเข้มของแสง เช่น เงา เมฆ ฝุ่น ใบไม้ ความลาดเอียงของการติดตั้ง
1. ลูกค้าสามารถลดต้นทุนการบริหารกิจการจากค่าไฟฟ้าที่ลดลง
2. ช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากการใช้พลังงานสะอาด
3. ช่วยลดโลกร้อน
4. เป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีในการดำเนินธุรกิจ
• ติดตั้งได้กับหลังคาทุกชนิด ยกเว้นหลังคาสังกะสี และหลังคาลอนคู่ (Roman Tile) ที่อายุมากกว่า 10 ปี หลังคาที่มีความชันสูงเกินกว่า 60 องศา จะไม่แนะนำให้ติดตั้ง
• ทิศมีผลต่อการรับแสง โดยทิศที่เหมาะสมที่สุดคือ ทิศใต้
• การติดโซลาร์เซลล์จะช่วยลดอุณหภูมิภายในอาคาร และทำให้ลดการใช้งานระบบปรับอากาศอีกด้วย เนื่องจากแผงโซลาร์เซลล์จะช่วยกรองแสงส่วนหนึ่งก่อนจะถึงอาคาร ทำให้อาคารไม่โดนแสงแดดโดยตรงจึงช่วยให้ภายในอาคารเย็นขึ้น
• ไม่มีอันตราย เนื่องจากแผ่นโซลาร์เซลล์ออกแบบมาให้สามารถโดนน้ำฝนได้ โดยที่ไม่เกิดการลัดวงจรโดยจุดต่อไฟฟ้าจะอยู่ด้านหลังแผง และมีระดับการป้องกัน IP 67 ขึ้นไปซึ่งหมายความว่าสามารถป้องกันฝุ่นได้ และ สามารถจุ่มน้ำได้ที่ความลึกตั้งแต่ 15 เซนติเมตร ถึง 1 เมตร
อย่างไรก็ดี เพื่อความปลอดภัยไม่แนะนำให้ ฉีดน้ำไปที่หลังแผงโดยตรง เนื่องจากมีกล่องต่อสายไฟอยู่ด้านหลังแผง
คำอธิบายเพิ่มเติม
*IP (Ingress Protection Ratings) คือ มาตรฐานที่ใช้วัดความสามารถในการปกป้องสิ่งที่อยู่ภายในของอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ทั้งหลาย มาตรฐานนี้ถูกพัฒนาขึ้นมาโดย European Committee for Electrotechnical Standardization (CENELEC) (NEMA IEC 60529 Degrees of Protection Provided by Enclosures – IP Code),ซึ่งการจัดอันดับของการป้องกันจะแสดงด้วยตัวเลข 2 หลัก
หลักแรก จะแสดงความสามารถในการป้องกันของแข็ง และ
หลักที่สอง จะเป็นความสามารถในการป้องกันของเหลว รูปแบบการแสดงมาตรฐานจะเป็น IPXX ซึ่ง XX คือตัวเลขดังกล่าว เช่น IP67, IP68 เป็นต้น
• สามารถกลับไปใช้งานตามปกติได้ทันที ระบบโซลาร์เซลล์จะรีสตาร์ทเองหลังจากสภาวะไฟฟ้ากลับสู่ปกติ
(ถ้ามีการสับเบรกเกอร์ลง ให้ดึงเบรกเกอร์ขึ้น ระบบโซล่าร์เซลล์ก็จะทำงานปกติ)
ติดต่อสอบถาม ที่ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ หมายเลข 02 0263132 กด 3 หรือ โทร 097-229-8865
ในเวลาทำการ จันทร์-เสาร์ 08:30 – 17:00 น.
สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้อีก 3 ช่องทาง คือ
ผ่านทาง Facebook โดยเข้าไปที่เพจ https://www.facebook.com/excellentsolarcell/
สอบถามผ่านทาง Email โดยส่ง email มาที่ [email protected]
Line@ โดยการ scan QR code ตามด้านล่าง หรือ เข้าไปที่โปรแกรม Line จากนั้นกดเลือกที่เพิ่มเพื่อน > เลือกบัญชีทางการที่แนะนำ ตรงช่องค้นหาให้พิมพ์ @excellentsolar > จากนั้นกดเลือกเพิ่มเพื่อนได้เลย
Performance
Preventive Maintenance
DC-AC Check
Inverter-Monitoring
Solar Cleaning
ออกแบบและให้คำปรึกษา
การวางแผนติดตั้ง
ประสานงานทางกฎหมายและภาครัฐ
ดูแลหลังการขาย
บริการออกแบบ ติดตั้ง ระบบผลิตไฟฟ้า จากพลังงานแสงอาทิตย์
จำหน่าย EV Charger
ติดตั้งและออกแบบด้วยวิศวกรไฟฟ้า
ทีมงานคุณภาพมากประสบการณ์
พร้อมบริการหลังการขาย