การติดตั้งโซล่าเซลล์นิยมติดตั้งบนระบบออนกริด ซึ่งเหมาะสำหรับบ้านที่ใช้ไฟฟ้ามากในตอนกลางวันและต้องการลดค่าไฟฟ้า โดยระบบนี้โซล่าเซลล์จะผลิตไฟฟ้าตามการใช้งาน หากใช้ไฟฟ้าในตอนกลางวันน้อย โซล่าเซลล์ก็จะผลิตไฟฟ้าและนำมาใช้งานได้น้อย
หลายท่าน จึงหันมาขายไฟคืนให้การไฟฟ้า เพื่อใช้ประโยชน์จากโซล่าเซลล์ให้ได้มากที่สุด นอกจากนี้ยังเป็นวิธีที่ช่วยให้การติดตั้งโซล่าเซลล์คืนทุนได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น
ซึ่งการขายไฟอาจจะต้องเตรียมการตั้งแต่ก่อนการติดตั้ง เพื่อทำให้ตรงตามคุณสมบัติที่การไฟฟ้ากำหนด
คุณสมบัติสำคัญของผู้ยื่นขายไฟ
- ผู้ยื่นขายไฟต้องเป็นเจ้าของหน่วยวัดไฟฟ้า หรือ เจ้าของมิเตอร์
- การยื่นขายไฟต้องเป็นการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ประเภทที่ 1 บ้านอยู่อาศัย และติดตั้งเพื่อใช้เองภายในบ้านเท่านั้น
- ต้องติดตั้งไม่เกินขนาดไฟที่การไฟฟ้ากำหนด หากต้องการขายไฟคืนการไฟฟ้า บ้านที่ใช้ไฟฟ้าระบบ 1 เฟส ต้องติดตั้งไม่เกิน 5 kW หรือ 5 กิโลวัตต์ และบ้านที่ใช้ไฟฟ้าระบบ 3 เฟส ต้องติดตั้งไม่เกิน 10 kW หรือ 10 กิโลวัตต์
ผู้ที่ติดตั้งโซล่าเซลล์มากกว่าขนาดของกำลังไฟที่การไฟฟ้ากำหนด ไม่สามารถขายไฟคืนให้การไฟฟ้าได้ จึงจำเป็นต้องวางแผนตั้งแต่ก่อนการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์
หากติดตั้งกับบริษัทรับติดตั้งโซล่าเซลล์ควรบอกจุดประสงค์กับบริษัททันทีเมื่อตัดสินใจติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ เพื่อการประเมินชุดติดตั้งที่เหมาะสม ประเมินราคาติดโซล่าเซลล์และการทำเอกสารอย่างถูกต้อง ซึ่งจะช่วยให้การขออนุญาตขายไฟผ่านง่ายมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ผู้ติดตั้งโซล่าเซลล์ประเภทอื่นๆ ยกตัวอย่างเช่น โซล่าเซลล์โรงงาน
โซล่าเซลล์โรงพยาบาล โซล่าเซลล์ออฟฟิศ โซล่าเซลล์หอพัก โซล่าเซลล์อพาร์ทเมนท์
โซล่าเซลล์คอนโด ไม่สามารถขายไฟคืนได้ เพราะผิดเงื่อนไขที่การไฟฟ้ากำหนด
ติดตั้งโซล่าเซลล์แบบไหน ถึงสามารถขายไฟได้
โซล่าเซลล์ระบบที่สามารถขายไฟคืนให้การไฟฟ้าได้ คือโซล่าเซลล์ระบบออนกริด (On-Grid System) ระบบที่ไม่สามารถขายไฟคืนให้การไฟฟ้าได้ คือโซล่าเซลล์ระบบออฟกริด (Off-Grid System) และระบบไฮบริด (Hybrid System) ซึ่งหากติดตั้งแบตเตอรี่จะไม่สามารถขายไฟฟ้าคืนให้การไฟฟ้าได้
ขั้นตอนการยื่นขายไฟ
- ติดตั้งโซล่าเซลล์อย่างมีมาตรฐานตรงตามเงื่อนไขที่การไฟฟ้ากำหนด โดยสามารถติดตั้งกับบริษัทรับติดตั้งโซล่าเซลล์ ที่มีประสบการณ์ติดตั้งได้มาตรฐานอย่างถูกต้องตามเงื่อนไขการไฟฟ้า ทำให้ขออนุญาตขนานไฟ หรือขออนุญาตขายไฟฟ้าได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น บริษัท Excellent Solar ที่ติดตั้งตามเงื่อนไขพร้อมมีบริการทำเอกสารยื่นการไฟฟ้า
- เตรียมเอกสารขอเชื่อมโครงข่ายกับการไฟฟ้าและเอกสารขอขายไฟ เพื่อทำสัญญากับการไฟฟ้า
- ยื่นเอกสารสมัครทางออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ https://ppim.pea.co.th/ สำหรับการไฟฟ้าส่วนท้องถิ่น และ https://myenergy.mea.or.th/ สำหรับการไฟฟ้านครหลวง หรือยื่นเองที่ทำการของการไฟฟ้าตามเขตพื้นที่
- หลังจากยื่นคำขอเสร็จสิ้น การไฟฟ้าจะประกาศผลบนเว็บไซต์ภายใน 45 วันนับจากยื่นคำขอผ่านทางเว็บไซต์
- หากผ่านการพิจารณา ต้องลงนามในสัญญาภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ประกาศรายชื่อซึ่งผู้ยื่นจะต้องชำระค่าตรวจสอบระบบไฟฟ้า และการเชื่อมต่อระบบ จำนวน 2,140 บาท
- ขอหนังสือจดแจ้งจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน
- การไฟฟ้าจะทดสอบระบบผลิตไฟฟ้า ภายใน 10 วัน
- เชื่อมต่อระบบไฟฟ้า และจ่ายไฟเข้าสู่การไฟฟ้าตามที่กำหนดไว้ตามสัญญา
หลังจากยื่นคำขอขายไฟเรียบร้อยแล้ว ห้ามเปลี่ยนแปลงการติดตั้ง หรือเพิ่มลดขนาดกำลังการผลิตติดตั้งตามที่ระบุไว้ในสัญญาอย่างเด็ดขาด หากฝ่าฝืนการไฟฟ้ามีสิทธิบอกเลิกสัญญาและอาจถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย และอาจโดนค่าปรับ 10,000 บาทต่อกิโลวัตต์สูงสุดตามที่ระบุในสัญญา
นอกจากนี้การไฟฟ้ามีสิทธิเข้าตรวจสอบและร้องขอให้แก้ไข ปรับปรุง ตามความจำเป็น โดยผู้ขายไฟต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด
เงื่อนไขการรับซื้อไฟฟ้า
- สำหรับบ้านที่ระบบไฟฟ้า 1 เฟส ขนาดกำลังการผลิตติดตั้งต้องไม่เกิน 5 กิโลวัตต์ และระบบไฟฟ้า 3 เฟส กำลังการผลิตติดตั้งไม่เกิน 10 กิโลวัตต์
- ต้องเป็นการติดตั้งโซล่าเซลล์ประเภทที่ 1 บ้านอยู่อาศัย ซึ่งติดตั้งเพื่อใช้เองภายในบ้านเท่านั้น
- การไฟฟ้ารับซื้อไฟฟ้าต่อหน่วยอยู่ที่ 2.20 บาท/kWh ซึ่งการไฟฟ้าจะโอนเงินเข้าผ่านบัญชีธนาคารที่ระบุไว้ในหนังสือแจ้งข้อมูลบัญชีเงินฝากที่ให้ไว้กับทางการไฟฟ้าเท่านั้น
- สัญญาขายไฟคืนการไฟฟ้า มีระยะเวลา 10 ปี
ยื่นขายไฟต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง
- สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของมิเตอร์ พร้อมเซ็นสำเนาถูกต้อง
- หากมอบอำนาจ ต้องมีหนังสือมอบอำนาจติดอากรแสตมป์ 30 บาท และสำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ สำเนาบัตรประชาชนพยาน 2 คน พร้อมเซ็นสำเนาถูกต้อง
- หลักฐานประกอบการจดแจ้งจากสำนักงานกำกับกิจการพลังงาน ซึ่งระบุที่อยู่เป็นสถานที่ที่ติดตั้งระบบโซล่าเซลล์
- สำเนาบิลค่าไฟฟ้าสถานที่ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์
- ข้อมูลของแผงโซล่าเซลล์ หรือ Datasheet
- แผนผังแสดงพื้นที่ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์
- ข้อมูลของ Inverter หรือ Datasheet
- แบบ Single Line Diagram ซึ่งมีวิศวกรไฟฟ้าเซ็นรับรองแบบ และเอกสารสำเนาบัตรประชาชนของวิศวกร สำเนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพของวิศวกรควบคุมงานติดตั้งระบบไฟฟ้า ที่ยังไม่หมดอายุ พร้อมเซ็นสำเนาถูกต้อง
- ภาพถ่ายด้านหน้าอาคารที่ติดตั้ง Solar Rooftop
*ทั้งนี้ควรตรวจสอบรายละเอียด และประกาศกำหนดการต่างๆ ผ่านทางเว็บไซต์ของการไฟฟ้า ก่อนการทำสัญญา
ทุกครั้ง ซึ่งหากติดตั้งกับบริษัทรับติดตั้งโซล่าเซลล์
ที่มีบริการยื่นขายไฟสามารถลดขั้นตอนยุ่งยากเหล่านี้ได้
สรุป
การติดตั้งโซล่าเซลล์ และขายไฟคืนให้การไฟฟ้า ทำได้เฉพาะโซล่าเซลล์ระบบออนกริดเท่านั้น และต้องเป็นประเภทที่ 1 บ้านพักอาศัยทั่วไป ซึ่งไฟ 1 เฟส ต้องติดตั้งไม่เกิน 5 กิโลวัตต์ และ ไฟฟ้า 3 เฟส ต้องติดตั้งไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ โดยการไฟฟ้าจะรับซื้อในราคา 2.20 บาท/kWh ระยะเวลา 10 ปี
Excellent Solar
ออกแบบ ติดตั้ง ระบบโซล่าร์เซลล์ และจัดจำหน่าย EV Charger