AFTER SALES SERVICE

บริการ หลังการขาย

ส่งข้อความถึงเรา

คุณจะได้รับ การดูแลอย่างไร ?

Solar Cleaning ล้างแผง

บริการมาตรฐานระดับสากลด้วยเครื่องมือล้างแผงที่ช่วยรักษาประสิทธิภาพของแผงโซล่าร์เซลล์และให้มีการผลิตไฟฟ้าที่ดีตลอด 25 ปี

DC-AC Check

ตรวจสอบค่าความต้านทานและการทำงานของระบบ DC และ AC

Performance

ตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของระบบ

Inverter-Monitoring

ตรวจสอบสถานะการทำงาน ออนไลน์

Preventive Maintenance

เช็คระบบไฟฟ้าทั้งหมด โรงงาน อาคาร ห้างร้าน

Thermoscan

เช็คความผิดปกติ โดยภาพถ่ายความร้อน

บริการทุกระดับประทับใจลูกค้า

Excellent Solar เรามีบริการดูแลหลังการขายตลอดอายุการใช้งานอย่างมีคุณภาพ
ออกแบบและให้คำปรึกษา การวางแผนติดตั้ง ประสานงานขั้นตอนทางกฎหมายและการติดต่อภาครัฐ ครบจบในที่เดียว

การขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์ ต้องทำอะไรบ้าง อัพเดทใหม่ 2568

การขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์ ต้องทำอะไรบ้าง อัพเดทใหม่ 2568


Listen to article
Audio is generated by AI and may have slight pronunciation nuances.

สาระสำคัญภายในบทความ

ในปี 2568 เป็นปีที่เหมาะสมสำหรับการติดตั้งโซล่าเซลล์ที่สุด โดยการการติดตั้งโซล่าเซลล์บางระบบจำเป็นต้องขออนุญาตการไฟฟ้า ซึ่งในปี 2568 ยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงกฎการขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์มากนัก ดังนั้นวันนี้เรามาทบทวนกฎการขออนุญาตการไฟฟ้าติดตั้งโซล่าเซลล์ของปี 2567 กันดีกว่า 

ปกติการใช้ไฟฟ้าในประเทศไทย ไม่ว่าจะบ้านพัก บริษัท หรือโรงงาน จะใช้บริการไฟฟ้าจากหน่วยงานรัฐคือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งจะผลิตไฟฟ้าและส่งต่อให้ฝ่ายจำหน่ายไฟฟ้าคือ การไฟฟ้านครหลวง (MEA) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) 

การติดตั้ง Solar Rooftop เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้ภายในครัวเรือนในระบบที่มีการขนานไฟฟ้า จึงจำเป็นต้องขออนุญาตจากหน่วยงานเหล่านี้อย่างถูกต้องเสียก่อน เพื่อตรวจสอบความปลอดภัยของอุปกรณ์และการติดตั้ง 

ติดตั้งโซล่าร์เซลล์ระบบไหน ที่ต้องขออนุญาตการไฟฟ้า?

ติดตั้งโซล่าร์เซลล์ระบบไหนที่ต้องขออนุญาตการไฟฟ้า?

การติดตั้งโซล่าเซลล์แบ่งออกเป็น 3 ระบบ

1. ระบบออนกริด (On-Grid)

เป็นระบบที่ใช้งานทั้งไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์และไฟฟ้าจากการไฟฟ้า ซึ่งไม่จำเป็นต้องติดแบตเตอรี่ และจำเป็นต้องดำเนินการขออนุญาตการไฟฟ้าก่อน เนื่องจากต้องขนานไฟกับการไฟฟ้า

2. ระบบออฟกริด (Off-Grid)

 เป็นระบบที่ไม่ใช้ไฟจากการไฟฟ้า ซึ่งเหมาะกับพื้นที่ห่างไกล และไฟฟ้าไปไม่ถึง โดยระบบนี้ไม่จำเป็นต้องดำเนินการขออนุญาตการไฟฟ้า 

3. ระบบไฮบริด (Hybrid)

เป็นระบบที่รวมกันระหว่างระบบออนกริดและระบบออฟกริด ซึ่งจะใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้า และแผงโซล่าเซลล์ รวมทั้งติดตั้งแบตเตอรี่เพิ่มเพื่อใช้ไฟฟ้าในตอนกลางคืน โดยระบบนี้จำเป็นต้องดำเนินการขออนุญาตการไฟฟ้าด้วยเช่นกัน 

สรุปแล้วระบบติดตั้งโซล่าเซลล์ที่ต้องขออนุญาตมี 2 ระบบ คือ ระบบออนกริด และระบบไฮบริด ซึ่งการดำเนินเรื่องค่อนข้างยุ่งยาก และยาวนาน จึงแนะนำว่าควรมีบริษัทติดตั้งโซล่าเซลล์ช่วยดำเนินเรื่องให้ เพื่อความสะดวกและลดความยุ่งยากในการดำเนินการติดตั้งโซล่าเซลล์

4 ขั้นตอนการขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์อัพเดท 2568

ขั้นตอนที่ 1. ยื่นขออนุญาตหรือแจ้งหน่วยงานราชการในท้องถิ่น 

ยื่นขออนุญาตหน่วยงานราชการในท้องถิ่นก่อน โดยเอกสารที่ยื่นจะต้องได้รับการตรวจสอบและเซ็นรับรองโดยวิศวกรโยธาที่มีใบ กว. อย่างถูกแล้วเท่านั้น

เอกสารที่ต้องยื่น
แบ่งออกเป็น 2 กรณี

  1. ยื่นใบอนุญาตดัดแปลงอาคาร เพื่อขออนุญาตปรับปรุงอาคาร (อ.1) ในกรณีที่ติดตั้ง Solar rooftop พื้นที่ติดตั้งเกิน 160 ตารางเมตร และน้ำหนักรวมแล้วเกิน 20 กิโลกรัมต่อตารางเมตร
  2. ยื่นใบคำร้องแจ้งให้ทราบ ในกรณีที่ติดตั้ง Solar rooftop พื้นที่ติดตั้งไม่เกิน 160 ตารางเมตร และน้ำหนักรวมแล้วไม่เกิน 20 กิโลกรัมต่อตารางเมตร

หลังจากยื่นเอกสารอย่างถูกต้องแล้ว จะได้รับหลักฐานการขออนุญาต และสามารถติดตั้งโซล่าเซลล์ได้เลย โดยในขั้นตอนการติดตั้งควรมีบริษัทติดตั้งโซล่าเซลล์ที่เชี่ยวชาญคอยดูแลการติดตั้ง เพื่อการติดตั้งอย่างถูกต้องตามกฎเกณฑ์ของการไฟฟ้า

ขั้นตอนที่ 2 แจ้งขอยกเว้นการขอใบอนุญาตจาก กกพ.

หากติดตั้งโซล่าเซลล์ที่มีกำลังผลิตติดตั้งไม่ถึง 1000 kVA หรือประมาณ 800 kW จะต้องยื่นขอยกเว้นการขอใบอนุญาตจากสำนักงาน คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) โดยสามารถยื่นที่สำนักงานได้เลย หรือสามารถยื่นทางเว็บไซต์ https://www.cleanenergyforlife.net/

เมื่อดำเนินการเสร็จสิ้น จะได้รับหนังสือการประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาตจาก สำนักงาน กกพ.

ขั้นตอนที่ 3 ยื่นขอขนานไฟฟ้ากับการไฟฟ้าตามเขตพื้นที่ใช้งาน

โดยสามารถยื่นผ่านเว็บไซต์ได้ ดังนี้
เว็บไซต์สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าจาก การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) https://myenergy.mea.or.th/
เว็บไซต์สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าจาก การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) https://ppim.pea.co.th/

เอกสารที่ต้องยื่น  

  1. เอกสารมอบอำนาจ (ในกรณีให้บริษัทติดตั้งโซล่าเซลล์ขออนุญาตแทน)
  2. รูปถ่ายแสดงอุปกรณ์ แผง และอินเวอร์เตอร์อย่างชัดเจน
  3. ยื่นใบอนุญาตดังแปลงอาคาร เพื่อขออนุญาตปรับปรุงอาคาร (อ.1)
  4. แบบแปลนโครงสร้างการติดตั้ง ที่ตรวจสอบและรับรองอย่างถูกต้องโดยวิศวกรโยธาที่มีใบรับรอง กว.
  5. แบบ Single Line Diagram ที่รับรองอย่างถูกต้องโดยวิศวกรโยธาที่มีใบรับรอง กว.
  6. รายละเอียด รุ่น ยี่ห้อ ของแผงโซล่าเซลล์และอินเวอร์เตอร์ (Specification)
  7. Mini COP รายการตรวจสอบมาตรการด้านการออกแบบติดตั้งตามประมวลหลักการปฏิบัติ

ขั้นตอนที่ 4 รับการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่การไฟฟ้า

หลังจากตรวจสอบเอกสารแล้ว การไฟฟ้าจะส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบการเชื่อมระบบไฟฟ้าที่บ้าน เมื่อได้รับการตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว จะต้องเปลี่ยนมิเตอร์เป็นมิเตอร์ดิจิทัล และติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟย้อน ซึ่งในขั้นตอนนี้ต้องชำระเงินค่าตรวจสอบการเชื่อมระบบของการไฟฟ้า และค่าอุปกรณ์ต่างๆ ก็จะเป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการ

การขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์อาจใช้ระยะเวลายาวนานถึง6 เดือนหรือมากกว่านั้น และต้องคอยเตรียมเอกสารยุ่งยากมากมาย ผู้ติดตั้งโซล่าเซลล์จึงนิยมให้บริษัทรับติดตั้งโซล่าเซลล์ดำเนินการให้แทนเช่น Excellent Solar บริษัทติดตั้งโซล่าเซลล์ที่มีผลงานติดตั้งกว่า 1000 โครงการทั่วประเทศ

Excellent Solar รับติดตั้ง Solar Rooftop ผู้ช่วยส่วนตัวสำหรับจัดการเตรียมเอกสารการขออนุญาตการไฟฟ้า และคอยติดตามสถานะอย่างสม่ำเสมอจนครบกระบวนการให้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย พร้อมทั้งการติดตั้งโซล่าเซลล์ได้ปลอดภัยและมีมาตรฐานตรงตามข้อกำหนดของการไฟฟ้า

Excellent Solar 

ออกแบบ ติดตั้ง ระบบโซล่าร์เซลล์ และจัดจำหน่าย EV Charger


« Back to Blog

บริการหลังการขาย

Performance

Preventive Maintenance

DC-AC Check

Inverter-Monitoring

Solar Cleaning

บริการของเรา

ออกแบบและให้คำปรึกษา

การวางแผนติดตั้ง

ประสานงานทางกฎหมายและภาครัฐ

ดูแลหลังการขาย

เกี่ยวกับเรา

บริการออกแบบ ติดตั้ง ระบบผลิตไฟฟ้า จากพลังงานแสงอาทิตย์

จำหน่าย EV Charger

ติดตั้งและออกแบบด้วยวิศวกรไฟฟ้า

ทีมงานคุณภาพมากประสบการณ์

พร้อมบริการหลังการขาย

© All rights reserved.

ขอใบเสนอราคา

เราจะติดต่อกลับในเวลาทำการ

Close Modal